รายงานที่จัดทำร่วมกันโดยองค์กรสิทธิมนุษยชนอิหร่าน (Iran Human Rights) และภาคีเพื่อการยกเลิกโทษประหารชีวิต (Together Against the Death Penalty) ระบุว่า ในปี 2023 ที่ผ่านมา อิหร่านได้ประหารชีวิตนักโทษไป834 คน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 43% และถือเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 20 ปี ที่มีผู้ถูกประหารชีวิตมากกว่า 800 คน หลังจากปี 2015 ที่อิหร่านประหารชีวิตนักโทษไป 972 คน
อิสราเอลเผยใกล้ได้ข้อสรุปบุกเลบานอนปราบฮิซบอลเลาะห์
เดือดอีกรอบ! “เฮซบอลเลาะห์” ยิงจรวดถล่มตอนเหนืออิสราเอล
ยูเอ็นมีหลักฐานชวนเชื่อว่า ฮามาสข่มขืน-ทรมานตัวประกันผู้หญิงและเด็กจริง
กลุ่มสิทธิมนุษยชนกล่าวหาอิหร่านว่า ใช้โทษประหารชีวิตสร้างความหวาดกลัวในสังคมภายหลังเหตุการณ์ประท้วงใหญ่เมื่อเดือน ก.ย. ปี 2022 ซึ่งมีชนวนเหตุจากการเสียชีวิตของมาห์ซา อามินี หญิงชาวเคิร์ด หลังถูกตำรวจศีลธรรมของอิหร่านจับกุมในกรุงเตหะราน เนื่องจากไม่สวมฮิญาบ โดยอิหร่านได้ประหารชีวิตนักโทษ 9 คนในคดีที่เกี่ยวข้องกับเหตุโจมตีกองกำลังความมั่นคงระหว่างการประท้วงปี 2022
แต่การประหารเพิ่มสูงขึ้นในคดีอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะคดีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ซึ่งก่อนหน้านั้นลดลงมาตลอดโดยผู้ที่ถูกประหารชีวิตในคดียาเสพติดในปี 2023 อยู่ที่ 471 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2020 กว่า 18 เท่า
ในจำนวนนี้มีสมาชิกชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ โดยเฉพาะชาวบาลูชที่นับถือนิกายซุนนีมีสัดส่วนที่สูงอย่างน่าตกใจโดยมีนักโทษที่เป็นชนกลุ่มน้อยบาลูช ถูกประหาร 167 คน หรือคิดเป็น 20% ของผู้ที่ถูกประหารทั้งหมดในปี 2023 ทั้งที่ชนกลุ่มน้อยบาลูชมีสัดส่วนเพียง 5% ของประชากรอิหร่าน
ราฟาเอล เชอนุย-ฮาซาน ผู้อำนวยการภาคีเพื่อการยกเลิกโทษประหารชีวิตระบุว่า การนิ่งเฉยของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) กำลังส่งสัญญาณผิด ๆ ให้กับทางการอิหร่าน
อิหร่านประหารชีวิตนักโทษด้วยวิธีแขวนคอภายในเรือนจำ แต่รายงานฉบับนี้ระบุว่า ในปี 2023 การแขวนคอประจานเพิ่มขึ้น 3 เท่า จากปี 2022 โดยมีผู้ที่ถูกแขวนคอในที่สาธารณะ 7 คน
นอกจากนี้ ยังผู้ที่ถูกประหารชีวิตที่เป็นผู้หญิงอย่างน้อย 22 คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในรอบ 10 ปี ในจำนวนนี้ 15 คนถูกประหารในข้อหาฆาตกรรม โดยองค์กรเอ็นจีโอได้เตือนมานานแล้วว่า ผู้หญิงที่ฆ่าสามีหรือญาติที่ใช้ความรุนแรงเสี่ยงที่จะถูกประหารชีวิต
ในจำนวนการประหารที่ได้รับการบันทึกในปี 2023 มีเพียง 15%ที่สื่อทางการอิหร่านรายงานข่าว
มาห์มูด อาไมรี-โมฮัดดัม ผู้อำนวยการองค์กรสิทธิมนุษยชนอิหร่าน แสดงความกังวลว่า การที่นานาชาติไม่แสดงความไม่พอใจต่อการประหารที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่ทุกคนพุ่งความสนใจไปที่สงครามระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาสในกาซา มีแต่จะส่งเสริมให้อิหร่านประหารชีวิตนักโทษมากขึ้น
ร้อนตับแตก! 5-6 มี.ค.นี้ ดัชนีความร้อน พุ่งสูงทะลุ 48-51 องศา
iOS 17.4 เปิดอัปเดตแล้ว มาพร้อมอิโมจิ-ฟีเจอร์ใหม่เพียบคำพูดจาก สล็อต888!
แฉลากไส้! แก๊งกะเทยฟิลิปปินส์ มี “แม่แท็ค” คุมซอยสุขุมวิท 11